http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?p=623911#623911
1. Customer royalty program
ปัจจุบัน หลายๆ บจ.มีการทำการตลาดโดยให้มีบัตรสะสมแต้ม เพื่อให้นำมาเพื่อใช้ แลก ลด หรือใช้ซื้อสินค้ากลุ่มธุรกิจที่ใช้แต้มสะสมนี้ได้แก่….(ใครมีอะไรเพิ่ม เติม ขอเชิญนะครับ? )
– ธนาคาร+บัตรเครดิต : การนำแต้มเพื่อแลกรางวัล
– การบิน : การสะสมไมล์
– อาหาร : อันนี้ผมคิดเอง อย่างบัตรเด็กเส้นของโออิชิ
ตาม กม.แรงงาน เมื่อลูกจ้างทำงานมาครบ 10 ปี จะมีสิทธ์ได้รับเงินชดเชยเมือเกษียณ หรือ ออกจากงานโดยปัจจุบัน บริษัทจะลงบัญชีเงินชดเชยเป็นค่าใช้จ่าย ก็ต่อเมื่อต้องมีการจ่ายจริง คือ พนง.ออก –> จ่ายเงิน –> ลงเป็น คชจ. เป็นจำนวนเมื่อสิ้นปีแต่มาตรฐานใหม่ มองว่า บจงควรมีการตั้งประมาณหนี้สินสำหรับเงินชดเชย สำหรับพนง.ที่ทำงานเกิน10ปี และ ให้ค่อยๆทยอยมีการรับรู้หนี้สิน (ที่น่าจะเกิดแน่นอน)ส่วนนี้จะส่งผลกระทบกับบริษัทใหญ่ (ที่พนง.รักและอยากอยู่นานๆ) ตัวอย่างเช่น
– PTT, SCC, BBL, เครือสหพัฒน์
ประมาณการหนี้สินนี้ต้องตั้งลงที่ค่าใช้จ่าย ส่งผลให้กำไรลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการปันผลเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เงินสดที่ตั้งสำรองนี้ (ควรจะ) ตั้งไว้ในสินทรัพย์อีกหัวข้อหนึ่ง ที่ไม่ใช่เงินสดหรือเทียบเท่าเงินสด โดยให้ บจ.มีทางเลือกคือ
– รับรู้ทั้งจำนวน : บาง บจ.อาจตั้งเลย หาก Qนั้นๆกำไรดีมากๆๆๆ (งบจะได้ไม่น่าตกใจนัก)
– ทยอย รับรู้ โดยให้เฉลี่ยได้ไม่เกิน 5 รอบบัญชี
ซึ่งเชื่อว่างบของบางบจ.ปีหน้า เมื่อมีการตั้งสำรองตรงนี้แล้ว อาจทำให้น่ารักน้อยลงได้ อ.เล่าว่าบางบริษัท ที่มีมาตรฐานบัญชีที่ดี (เร็วตามบจ.ของต่างประเทศ ได้มีการตั้งสำรองมาได้ระยะหนึ่งแล้ว) บจ.ที่ตั้งสำรองส่วนนี้แล้วได้แก่ MAKRO, SINGER, BJC, OHTL, PS, BANPU, PTTEP, SCB (ตั้งมา 2ปี), LPN (ลองเริ่มตั้งบ้างแล้ว)
การคิดค่าเสื่อมราคาแบบเดิมนั้น ใช้วิธี lump-sum approach ซึ่งคิดค่าเสื่อมอุปกรณหลักในการดำเนินกิจการแบบเหมาชิ้น เช่น เครื่องบินทั้งลำ ตีค่าเสื่อม 20 ปี, โกดังทั้งโกดัง คิด 10 ปี, อาคารสำนักงานทั้งตึก 25 ปี เป็นต้น แต่การคิดค่าเสื่อมแบบใหม่นี้ให้คิดแยกชิ้นส่วนตามความเป็นจริง เช่น เบาะเครื่องบิน 8 ปี, ลิฟท์ขนสินค้า 5 ปี เป็นต้น (เลขสมมุติทั้งนั้นนะครับ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการคิดค่าเสื่อมในปัจจุบัน(ซึ่งไม่ละเอียด)จะคิดราคาไว้ ค่อนข้างต่ำ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนบางอย่างต้องเปลี่ยนใหม่เร็วกว่าที่ตีราคาแบบเหมาๆ ดังนั้นอาจได้เห็นค่าเสื่อมราคาในงบการเงินใหม่ปีหน้าสูงขึ้นครับ ซึ่งอาจส่งผลคือ ตัวเลขต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ตัวเลขกำไรลดลง เป็นต้นครับ กลุ่มบจ.ที่อาจได้รับผล คือ บจ.ที่มีการลงทุนในเครื่องจักรที่มีราคาสูงมากๆ เช่น กลุ่มพลังงาน, รับเหมา (อุปกรณ์), และ อาคารให้เช่าเป็นต้น
หัวข้อนี้จะส่งผลต่อการที่ บจ.มีการก่อสร้างอาคาร อุปกรณ์ถาวร บนที่ดินของคนอื่น (เช่าที่แล้วสร้างตึกบนที่คนื่น) สินทรัพย์ถาวรที่สร้างขึ้นนั้น ณ ปัจจุบันยังไม่มีการตั้งประมาณการหนี้สินที่ต้องสำรองมาเป็น คชจ.ในการรื้อถอน/บูรณะเมื่อครบสัญญา
ยกตัวอย่างเช่น บจ.XXX สร้างอาคารสำนักงานบนที่ดินเปล่าที่เช่ามา มีสัญญา 10 ปี เมื่อครบปีที่ 10 ต้องบูรณะ (หรือรื้อถอนถ้าไม่ต่อสัญญา)
ซึ่งตรงนี้ ชัดเจนว่า เมื่อครบสัญญา บจ.XXX ต้องเตรียมเงินมาจ่ายแน่นอน แต่บัญชีปัจจุบัน อาจยังไม่มีการรับรู้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
อ. เล่าว่า มาตรฐานนี้ส่งผลต่อบจ.ในกลุ่มธุรกิจดังนี้
– CPN, BIGC, HMPRO, MBK, CPALL(?) ?(อาคาร)
– ปตทสผ, (ติดตั้งที่ขุดเจาะ)
– BANPU
– TRUE , DTAC, ADVANCE, TT&T (บูรณะเสาสัญญาณ)
โดยในฝั่ง Credit จะมีค่าประมาณการหนี้สินเพิ่มขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม BANPU และ ปตทสผ ไม่ได้รับผลกระทบส่วนนี้ เนื่องจากใช้มาตรฐานบัญชีใหม่มาก่อนหน้าแล้ว (บัญชีที่เห็นวันนี้มีการตั้งประมาณหนี้สินไปแล้ว)
5. การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
เดิมนั้น การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหา(บ้านจัดสรร, นิคมอุต)นั้น ทำได้3วิธี
– ตาม % ของงานที่สร้างเสร็จ
– เงินค่างวดที่ได้รับเมื่อถึงกำหนดชำระ
– รับรู้รายได้เมื่อมีการโอนสินทรัพย์
ซึ่งทำให้หลายๆบจ.มีรายได้ทยอยๆมาแล้วแต่ว่าจะคิดแบบใด
แต่มาตรฐานใหม่ ให้รับรู้รายได้วิธีเดียว คือ รับรู้เมื่อโอนเท่านั้น
ดังนั้นรายได้ของบางบจ.ในมาตรฐานใหม่นี้อาจลดลงในบางไตรมาสในปีหน้าได้ (รับเงินจองมาแล้วแต่ยังลงเป็นรายได้ไม่ได้)
โดยในบัญชี(ใหม่)อาจเห็นว่า รายได้ลด สินค้าคงเหลือเพิ่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ไม่มีผลกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งยังให้รับรู้รายได้ตาม %ของงานดังเดิม
แฟนๆของ LH, QH สบายใจได้เพราะบจ.ทำเสร็จแล้วค่อยขายอยู่แล้ว ส่วนของ PF, PS, SPALI, LPN ก็ฟังมาว่าไม่ค่อยส่งผล เพราะได้คิดตามมาตรฐานใหม่แล้วมั้งครับ (อันนี้จดมา ไม่ชัวร์นะครับ แต่ฟังมาอย่างนี้ )
6. ESOP การให้ผลประโยชน์ พนักงาน
เดิมนั้น บริษัทจะมีการให้ผลประโยชน์แก่พนักงานเพื่อจูงใจให้ทำงานกับบจ.ในระยะยาว โดยอาจเป็นสิทธิ์ในการซื้อหุ้นบจ.ก่อนเข้าตลาด (ก่อนIPO) หรือ การออก warrant
ทั้งนี้ ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานบัญชีใหม่นั้น คือ การคิดส่วนต่าง(หรือส่วนต่างที่พนง.มีสิทธ์ซื้อหุ้นได้ราคาถูกลง)
โดยมาตรฐานใหม่ ให้คิดส่วนล้ำจากราคาตลาด ณ จุดที่ใช้สิทธิ์ (เดิม รู้สึกว่าส่วนต่างคิดจากราคาที่ตั้งเอาไว้ตายตัว – ฝากผู้รู้อธิบายในส่วนนี้ให้ด้วยครับ ผมเองเข้าใจในลักษณะนี้)
เช่น วันที่พนง.ขอใช้สิทธิ์เปลี่ยน ?warrant เป็นหุ้น ราคาอยู่หุ้นละ 3 บาท
แต่พนง.จ่ายเพียง 1.40 บาท ส่วนต่าง 1.60 บาทนี้ ต้องลงเป็นค่าใช้จ่าย
ซึ่งส่งผลต่อกำไรของบจ.ได้ โดยเฉพาะ บจ.ที่มีการออก warrant ให้แก่พนง.มากๆ
อย่างไรก็ตาม มาตรฐานใหม่นี้ ส่งผลเฉพาะบริษัทที่จะเข้าตลาดใหม่ปีหน้า และ บจ.ในตลาด(เดิม)ที่จะออก warrant ใหม่หลังจากวันที่ 1-1-2011 เป็นต้นไป เท่านั้นครับ
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ?ปัจจุบัน ESOP ของหลายๆบจ.ยังคิดเป็นค่าใช้จ่ายในบัญชีต่ำกว่าความเป็นจริงครับ
มาตรฐานใหม่อาจส่งผลให้บจ.เปลี่ยนการจูงใจพนง.ด้วยวิธีอื่นแทนการออก warrant นั่นเองครับ