บทความเขียนโดย
หุ้นบลูชิพ คือ หุ้นที่นักลงทุนจัดว่าเป็นหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ พื้นฐานดี มั่นคง แข็งแรง ส่วนใหญ่ Market Cap หรือ มูลค่าตลาดของหุ้นก็จะสูงด้วย ยกตัวอย่างเช่นหุ้นใน SET50 ดังต่อไปนี้
ADVANC |
AOT |
BA |
BANPU |
BBL |
BCP |
BDMS |
BEC |
BEM |
BH |
BLA |
BTS |
CBG |
CENTEL |
CK |
CPALL |
CPF |
CPN |
DELTA |
DTAC |
EGCO |
GLOW |
GPSC |
HMPRO |
INTUCH |
IRPC |
IVL |
KBANK |
KCE |
KTB |
LH |
MINT |
MTLS |
PS |
PTT |
PTTEP |
PTTGC |
ROBINS |
SAWAD |
SCB |
SCC |
TASCO |
TCAP |
TMB |
TOP |
TPIPL |
TRUE |
TTW |
TU |
WHA |
หุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่เป็น 50 อันดับแรกของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นบริษัทที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และต้องใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากบริษัทเหล่านั้น หุ้นบลูชิพ จึงมักนำเอามาเรียกบริษัทขนาดใหญ่ และมั่นคง นักลงทุนจึงอุ่นใจ หรือสบายใจในการซื้อ และถือหุ้นมากกว่าบริษัทขนาดเล็กที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก
ผมเองไม่ค่อยชอบหุ้นบลูชิพ หรือ หุ้นขนาดใหญ่มากนัก เนื่องจาก % หรือ ผลตอบแทนในรูปแบบของราคาหุ้นไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับหุ้นขนาดเล็ก ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
นักลงทุนซื้อหุ้น BCP หรือ หุ้นน้ำมันบางจาก เมื่อต้นปีที่ราคา 33 บาทต่อหุ้น ถือมาจนถึงวันที่ผมเขียนบทความ โดยที่ไม่ได้ซื้อหรือขายหุ้นออกไปเลยตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ ราคาหุ้นอยู่ที่ 31 บาทต่อหุ้น เรียกว่าถือมาเกือบปี ขาดทุนไป 2 บาทต่อหุ้น
ในทางกลับกัน นักลงทุนซื้อหุ้นขนาดเล็ก KOOL ขายพัดลม เมื่อต้นปีราคาหุ้น 1.13 บาทต่อหุ้น ถึงปัจจุบัน 5.70 บาทต่อหุ้น คิดเป็นกำไรมากกว่า 500% ไม่ถึงหนึ่งปี
เราจะพบว่าหุ้นบลูชิพหรือหุ้นขนาดใหญ่ไม่ได้ให้กำไรที่เยอะเสมอไป แต่ผมไม่ได้บอกว่าการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ไม่ดี เนื่องจากมันมีความมั่นคงนั่นเอง คนส่วนใหญ่ที่ลงทุนจึงกล้าถือและซื้อสะสม ราคามันจึงไม่ได้ผันผวนมากนัก หากเทียบกับหุ้นขนาดเล็ก
เมื่อมันไม่ผันผวนมาก ราคาหุ้นก็มักจะวิ่ง อยู่ในกรอบราคาช่วงหนึ่ง หากนักลงทุนอ่านกราฟเทคนิค หรือพอจะดูเป็นบ้าง ไม่ถึงกับต้องอ่านค่าอินติเคเตอร์ได้ทุกตัวก็สามารถจับหุ้นบลูชิพมาเล่น day trade ได้แล้ว แต่การเทรดลักษณะนี้จะหวัง % กำไรมากๆ ก็ไม่ได้เพราะราคามักจะขึ้นลงไม่มากนัก การเล่นเดย์เทรดหุ้นบลูชิพเองก็ต้องใช้เงินลงทุนที่มากขึ้นเพื่อให้กำไรที่ได้ในแต่ละวันสูงพอสำหรับเทรดเดอร์นั่นเอง
ตัวอย่างด้านล่างคือกราฟราคาหุ้น IRPC ท่านจะเห็นว่าราคาหุ้นไม่ไปไหนมาสักพักใหญ่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกรอบ 4.70-5.10 บาท ไม่มากไม่น้อย
เทคนิควันนี้คือ อาศัย การสังเกตุรูปแบบของราคา เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเล่น day trade หุ้นบลูชิพ ซึ่ง IRPC ก็เป็นหนึ่งในนั้น
ให้ท่านมองกราฟทางด้านขวามือสุด คือ ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน หากราคาลงมาแถวบริเวณ 4.75-4.80 ก็เป็นจังหวะที่น่าเข้าซื้อ และขายออกไปแถวๆ 4.90 – 4.92 บาท ช่วงราคาจะไม่ห่างกันมาก แต่หากซื้อในปริมาณมากก็จะสามารถทำกำไรได้ไม่ยากเย็นนักสำหรับการเป็นนักค้าหุ้น
การใช้กรอบราคาเป็นเพียงส่วนประกอบในการพิจารณาเท่านั้น นักลงทุนควรจะใช้เทคนิคอื่นๆ ประกอบเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น และนั่นจะส่งผลให้ท่านเทรดแล้วมีกำไรสม่ำเสมอ มากกว่ากำไรชั่วคราวแล้วคืนกำไรไปหมดในอนาคต
หุ้นบลูชิพบางตัวการขึ้นลงของราคาอาจจะแรงในบางช่วงเวลา เนื่องจากอาจจะมีข่าวดีของบริษัทออกมา หรือข่าวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
เช่นหุ้น KBANK ผลประกอบการณ์ไตรมาส 3 ของปีไม่ดีนัก เนื่องจากมี NPL ที่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กันเอาไว้ ทำให้ราคาปิดต่ำลงทันทีวันถัดมา ในกราฟที่ผมวงกลมสีดำเอาไว้ ราคาลดลงไป 10 บาทต่อหุ้นทันทีจาก 190 เหลือ 180 บาท
คนที่เล่น day trade อาจจะหาจังหวะเวลาช่วงแบบนี้เข้าช้อนซื้อ เพราะเมื่อเวลาผ่านไปราคาหุ้นมักจะดีดกลับขึ้นมาได้ ก็สามารถขายทำกำไรจากราคาที่ได้ซื้อมาต่ำ และขายไปตอนสูงขึ้น หากมองกันจริงๆ ก็เหมือนพ่อค้าที่ซื้อของที่มีส่วนลด และไปขายต่อให้กับลูกค้าที่ราคาปกติต่อไป
อย่างไรก็ตามการเล่นเดย์เทรด หรือ ค้าหุ้น นั่นต้องอาศัยเครื่องมือหลายอย่าง และความรู้ รวมถึงองค์ประกอบเรื่องเงินลงทุน และสภาพจิตใจด้วย เพราะในบางครั้งการเทรดก็ส่งผลให้ขาดทุนได้ชั่วขณะ คนที่เทรดจนชำนาญจะสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่าสำหรับสถานการณ์ที่ตลาดไม่ปกติ และมักจะกลับมาเล่นได้ดีเช่นเคย
เทรดเดอร์สมัยใหม่ผมคิดว่าได้เปรียบมากขึ้น เพราะเครื่องมืออำนวยความสะดวกมีมากขึ้น อยู่ที่ว่าคุณจะหยิบจับมาใช้ และอ่านค่ามันออกหรือไม่ ทุกคนสามารถฝึกและเรียนรู้ได้
+ หลักสูตรเทคนิค แบบกลุ่ม (Group) Click
+ หลักสูตร Value Investment (VI) แบบกลุ่ม (Group) Click
+ หลักสูตร Value Investment (VI) และ เทคนิค แบบตัวต่อตัว (Private) Click
+ หลักสูตรมือใหม่เล่นหุ้น Click